
Weekly Recap Research

Bitcoin ปรับตัวขึ้นกลับมายืนที่ระดับ 94,700 ดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์เชิงบวกเกี่ยวกับการผ่อนปรนภาษีศุลกากร ช่วยหนุนให้ตลาดสามารถยืนเหนือแนวรับสำคัญได้อีกครั้ง พร้อมกระตุ้นแรงขายทำกำไรจากผู้ถือครองระยะสั้น ขณะที่นักเทรดบางส่วนเลือกเปิดสถานะชอร์ตสวนทางกับราคาที่ปรับขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่กองทุน ETF มากถึง 3,042.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนราคารอบนี้
Percent Supply in Profit

เปอร์เซ็นต์ของอุปทานที่อยู่ในสถานะกำไร (Percent Supply in Profit) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 87.3% จากเดิม 82.7% เมื่อเทียบกับครั้งล่าสุดที่ BTC เคยซื้อขายในระดับราคาปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่ามีอุปทานประมาณ 5% ที่มีการเปลี่ยนมือระหว่างช่วงการปรับฐานราคาในรอบที่ผ่านมา
อัตราส่วนกำไรต่อขาดทุนของผู้ถือครองระยะสั้น (STH Profit/Loss Ratio) ขยับแตะระดับ 1.0 ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ซื้อรายใหม่จำนวนมากกำลังอยู่ที่จุดคุ้มทุน ถือเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดแรงเทขาย (exit risk) ขณะเดียวกัน กำไรที่เกิดขึ้นจริง (Realized Profit) ก็เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากแรงขายทำกำไรของนักลงทุนระยะสั้นเป็นหลัก
ในวันที่ 22 เมษายน กองทุน U.S. spot Bitcoin ETFs มียอดเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 1.54 พันล้านดอลลาร์ สะท้อนความต้องการซื้อจากนักลงทุนสถาบันที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลกระแสเงินทุนแบบปรับค่าแล้ว (Normalized Flow) ยังชี้ชัดว่า ความต้องการลงทุนใน Bitcoin ผ่าน ETF สูงกว่า Ethereum อย่างมาก ซึ่งช่วยอธิบายได้ว่าทำไมราคา ETH จึงฟื้นตัวได้ช้ากว่า BTC ในช่วงที่ผ่านมา
Narratives Price Performance

[https://dexu.ai/narratives/breakdown?narrative=NFT]
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา หากดูจาก Narratives Price Performance จะพบว่ากลุ่ม Narrative ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดคือกลุ่ม AI-Agents ขณะที่กลุ่มที่ทำผลงานดีเป็นอันดับสองกลับเป็นกลุ่ม NFT ซึ่งค่อนข้างเกินความคาดหมาย โดยเหรียญที่มี Price Performance ดีที่สุดคือ PENGU ซึ่งเพิ่งเปิดตัวได้ไม่นานบนเครือข่าย Solana ตามมาด้วยเหรียญ ME, APE, BLUR และ ANIME ตามลำดับ
Top Net flow

[https://app.artemis.xyz/flows]
ในช่วงวันที่ 21–27 เมษายนที่ผ่านมา ภาพรวมของ Net Flows รายสัปดาห์สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของตลาดที่ค่อนข้างคึกคัก นักลงทุนยังคงประเมินและจัดสรรเงินทุนไปยังโอกาสที่มองว่ามีความคุ้มค่าทั้งด้านผลตอบแทนและความเสี่ยง Ethereum ยังคงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่แข็งแกร่ง ขณะที่เชนใหม่อย่าง Unichain และ Base เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การไหลออกของเงินทุนจาก L2 และ Alt-L1s ที่เคยได้รับความนิยม บ่งชี้ถึงการหมุนเวียนของกระแสเงินทุนที่มักเกิดขึ้นตามวัฏจักรตลาด หรืออาจรอความชัดเจนหลังจากสิ้นสุดโปรแกรม Incentive ต่างๆ ด้าน Unichain การขึ้นมาเป็นอันดับสองด้วยยอด Net Inflow ราว 50 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นสัญญาณที่น่าจับตามอง แม้ว่าข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโปรเจกต์จะยังมีไม่มาก แต่เงินทุนที่ไหลเข้าอาจสะท้อนถึงความนิยมในโปรโตคอล DeFi หรือ Yield Farming เฉพาะทางที่กำลังได้รับความสนใจ หรืออาจเกี่ยวข้องกับการออก Incentive Program ชั่วคราว ซึ่งจำเป็นต้องติดตามพัฒนาการเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิด
Fear & Greed Index

[https://alternative.me/crypto/fear-and-greed-index/]
ดัชนี Fear & Greed Index เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความเชื่อมั่นของตลาดคริปโต โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความผันผวนของราคา,ปริมาณการซื้อขาย,ความเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดียและอื่นๆการวัดค่าดังกล่าวจะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจถึงสภาวะตลาดในปัจจุบัน
ดัชนี Fear & Greed ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมาแตะระดับ 37 โดยได้แรงหนุนจากการที่ทรัมป์ออกมาตรการผ่อนปรนภาษีศุลกากร (Tariffs) ซึ่งช่วยลดความกังวลของนักลงทุนลง นอกจากนี้ ราคาทองคำที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วยังทำให้นักลงทุนบางส่วนเลือกขายทำกำไร แล้วนำเงินบางส่วนมาลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น
Bitcoin ETF Flow


[https://www.coinglass.com/bitcoin-etf]
ในช่วงวันที่ 21–25 เมษายน 2568 ตลาด Bitcoin ETF มีเม็ดเงินไหลเข้าอย่างคึกคัก สะท้อนความสนใจจากสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นในตลาดคริปโทฯ ตลอดทั้งสัปดาห์ Bitcoin ETFs มียอดเงินไหลเข้ารวมกว่า 3,042.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี BlackRock, Fidelity และ Ark เป็นกองทุนหลักที่ดึงดูดเงินลงทุนได้มากที่สุด
กระแสเงินทุนไหลเข้าสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นเชิงกลยุทธ์ในหมู่นักลงทุนสถาบัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก ได้แก่
- ความชัดเจนด้านกฎระเบียบ: การพัฒนากรอบกำกับดูแลที่ชัดเจนและครอบคลุมยิ่งขึ้น ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนของสถาบันในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล
- การยกระดับบทบาทของ Bitcoin: Bitcoin ได้รับการยอมรับในฐานะสินทรัพย์ทางเลือกในพอร์ตการลงทุนหลักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
- ปัจจัยมหภาค: ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านเสถียรภาพของค่าเงิน บทบาทของ Bitcoin ในการเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อเชิงโครงสร้าง ยังคงเป็นแรงจูงใจสำคัญในการจัดสรรเงินทุน
Ethereum ETF Flow

ระหว่างวันที่ 21–25 เมษายน 2025 การอนุมัติของ SEC สำหรับ Ethereum Spot ETF ยังคงรอคอยผลตอบแทนจากการ staking ซึ่งหากได้รับการอนุมัติจริง อาจเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญในการดึงดูดนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนจากการ staking แต่ในขณะเดียวกัน Ethereum ยังคงเผชิญกับปัจจัยที่ทำให้ราคายังไม่ปรับตัวมากนัก โดยเฉพาะในด้านกฎระเบียบและความลังเลของ SEC เกี่ยวกับการ staking และการไถ่ถอนแบบ in-kind สำหรับ ETF ของ Ethereum ที่ยังคงล่าช้า เช่น การเลื่อนข้อเสนอ staking ของ Grayscale ไปถึงเดือนมิถุนายน 2568 ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนบางส่วนกังวลและส่งผลให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกในบางวัน อย่างเช่น วันที่ 23 เมษายน ความชัดเจนในเรื่องการ staking อาจช่วยปลดล็อกมูลค่าใหม่ให้กับ Ethereum ได้
ข่าวสารสำคัญ
Metaplanet ญี่ปุ่น สะสม Bitcoin แตะ 5,000 BTC ตอกย้ำ กระแสบริษัทถือ BTC’
ทรัมป์จัดงานเลี้ยงสำหรับผู้ถือ Trump Memecoin ชั้นนำที่สนามกอล์ฟวอชิงตัน ดี.ซี.
Coeptis บริษัทไบโอเทค ควบรวม Z Squared ตั้งบริษัทใหม่ มุ่งเน้นขุด Dogecoin
SEC Chair Paul Atkins กำหนดทิศทางใหม่ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลในการประชุม Crypto Roundtable
ที่มา:
https://www.coinglass.com/bitcoin-etf
https://dexu.ai/narratives/breakdown?narrative=NFT
หมายเหตุ : บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
คำเตือน:
คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ขอบคุณที่ติดตามครับ
Wanchat